เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 10. วิตักกสัณฐานสูตร

ผู้ชำนาญวิถีทางแห่งวิตก

[221] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใด วิตก
อันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจาก
นิมิตนั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตก
เหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการ
วิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
เมื่อภิกษุนั้นมนสิการวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิ
ในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต
ทำจิตให้เร่าร้อน เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :231 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า 'ผู้ชำนาญในวิถีทางแห่งวิตก เธอหวังวิตก
ใดก็จักตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่หวังวิตกใดก็จักไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว
คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ"
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

วิตักกสัณฐานสูตรที่ 10 จบ
สีหนาทวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. จูฬสีหนาทสูตร 2. มหาสีหนาทสูตร
3. มหาทุกขักขันธสูตร 4. จูฬทุกขักขันธสูตร
5. อนุมานสูตร 6. เจโตขีลสูตร
7. วนปัตถสูตร 8. มธุปิณฑิกสูตร
9. เทฺวธาวิตักกสูตร 10. วิตักกสัณฐานสูตร